วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2552
สื่อการเรียนการสอนประเภทวัสดุกราฟฟิควัสดุกราฟฟิค (Graphic Materials) เป็นสื่อประเภททัศนวัสดุที่นำมา ใช้ในการสื่อความหมายเพื่อแสดงสัญลักษณ์ หรือความหมายของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับข้อ เท็จจริงแนวความคิด และเสริมความเข้าใจจากการผสมผสานสื่อของภาพวาด คำพูด สัญลักษณ์ และรูปภาพ เป็นต้นวัสดุกราฟ ฟิคมีบทบาทต่อสังคมข่าวสารในปัจจุบัน สื่อวัสดุกราฟฟิค มีดังต่อไปนี้2.1 แผนสถิติ (Graphs) เป็นสื่อสารนิเทศที่จัดทำขึ้นเพื่อเน้นการสื่อ ความหมายในเชิงปริมาณและตัวเลข ซึ่งเป็นนามธรรม กราฟแต่ละแผ่นควรแจ้งให้ทราบที่มา ของข้อมูลต่าง ๆ ด้วย เพื่อสร้างความเชื่อถือและเปิดโอกาสให้ศึกษาค้นคว้าต่อไปได้ง่ายขึ้น ตัวอักษร เส้น และสี ควรชัดเจน อ่านง่าย มีหลายชนิด จัดแบ่งเป็น 4 ชนิด ดังนี้ คือ2.1.1 กราฟเส้น ใช้แสดงด้วยเส้นที่แทนข้อมูลในแต่ละหน่วย2.1.2 กราฟแท่ง ใช้แสดงด้วยรูปแท่ง อาจจะอยู่ในรูปแนวนอนหรือแนวตั้ง2.1.3 กราฟรูปภาพ ใช้แสดงด้วยสัญลักษณ์หรือรูปภาดของข้อมูลเป็น การอธิบายที่ชัดเจนขึ้น ในเรื่องนั้นๆกราฟรูปภาพ2.1.4 กราฟวงกลม ใช้แสดงด้วยวงกลม แบ่งเป็นส่วนต่าง ๆ ตามค่าของข้อมูลที่ปรากฏ2.2 แผนภูมิ (Charts) เป็นสื่อสารนิเทศที่หมายถึง แผนที่ เส้น หรือ ตารางที่ทำขึ้นเพื่อแสดงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จึงเป็น สารนิเทศอาจอยู่ในรูปของแผนสถิติ ภาพวาด กราฟ หรือวิธีการออกแบบใด ๆ เพื่อแจ้งสารนิเทศให้ง่ายต่อการเข้าใจ ส่วนใหญ่เขียนขึ้นเพื่อแสดงข้อมูลทางธุรกิจ ภูมิศาสตร์ และ สภาพอากาศ การใช้แผนภูมิประกอบความเข้าใจ ในการสื่อสารได้ง่าย เพราะเป็นการทำให้สื่อประเภทคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรเป็นทัศนสัญลักษณ์ที่ เห็นเป็นรูปเป็นร่าง แบ่งได้เป็นหลายประเภท ดังต่อไปนี้ คือ2.2.1 แผนภูมิแบบต้นไม้ เป็นแผนภูมิที่แสดงให้เห็นสารนิเทศว่าสิ่งๆ หนึ่งอาจแบ่งแยกออกไปได้หลายอย่าง และแต่ละอย่างได้แก่อะไรบ้าง2.2.2 แผนภูมิแบบสายธาร เป็นแผนภูมิที่แสดงให้เห็นว่าสิ่ง ๆ หนึ่ง เกิดจากหลายสิ่งมารวมกัน2.2.3 แผนภูมิแบบต่อเนื่อง เป็นแผนภูมิที่ใช้แสดงให้เห็นลำดับของ การทำงานอย่างต่อเนื่องกัน2.2.4 แผนภูมิแบบองค์การ เป็นแผนภูมิที่ใช้แสดงความสัมพันธ์ของ สายงานในองค์การหรือหน่วยงานหนึ่ง ๆ หรือระหว่างองค์การหนือหน่วยงาน2.2.5 แผนภูมิแบบเปรียบเทียบ เป็นแผนภูมิที่ใช้เปรียบเทียบให้เห็น ความแตกต่างกันระหว่างรูปร่าง ลักษณะ ขนาด แนวความคิดของสิ่งต่าง ๆ2.2.6 แผนภูมิแบบตาราง เป็นแผนภูมิที่แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างเวลากับเหตุการณ์2.2.7 แผนภูมิแบบวิวัฒนาการ เป็นแผนภูมิที่ใช้แสดงความเปลี่ยนแปลงไปของสิ่งของต่าง ๆ2.2.8 แผนภูมิแบบอธิบายภาพ เป็นแผนภูมิที่ใชสำหรับชี้แจงส่วนต่างๆ ของภาพที่ต้องการ แผนภูมิมีประโยชน์อย่างมากต่อการเรียนการสอน ในวงการธุรกิจมักใช้ แผนภูมิอธิบายข้อมูลด้านการตลาด การรายงานภาวะตลาดหุ้น และสถานการณ์ทางธุรกิจทั่ว ๆ ไป2.3 แผนภาพ (Diagrams) เป็นสื่อสารนิเทศที่หมายถึง ภาพหรือเค้า โครงที่เขียนขึ้นเพื่อช่วยในการอธิบายเรื่องราว (ราชบัณฑิตยสถาน ก 2530 : 563) เป็น วัสดุกราฟฟิคที่แสดงส่วนประกอบและระบบการทำงานภายในของสิ่งต่างๆ ที่ไม่สามารถมอง เห็นด้วยตาได้ ด้วยการใช้ภาพเหมือนหรือภาพลายเส้นและสัญลักษณ์อื่นประกอบ เน้นเฉพาะ แนวความคิดที่สำคัญไม่มีรายละเอียด ที่ไม่จำเป็น เช่น การวาดภาพ แผนภาพให้เห็นการ ทำงานของลูกสูบในรถยนต์ ส่วนประกอบของต้นไม้ ดอกไม้ เป็นต้น แผนภาพที่นิยมใช้ประกอบการอธิบายสารนิเทศ จัดแบ่งได้เป็น 2 ประเภท (พรรณพิมล กุลบุญ 2523 : 11) คือ2.3.1 แผนภาพเทคนิค (Technical diagrams) ใช้แสดงข้อสารนิเทศทางเทคนิค เช่น วงจรไฟฟ้า และพิมพ์เขียวงานก่อสร้าง เป็นต้น2.3.2 แผนภาพกระบวนการ (Process diagrams) ใช้แสดงให้ เห็นความเห็นต่อเนื่องของกิจกรรม หรือขั้นตอนต่าง ๆ เช่น การทำงานของลูกสูบในรถยนตร์ เป็นต้น2.4 ภาพชุด (Flipcharts หรือ Flipbooks) เป็นสื่อสารนิเทศที่ รวมภาพถ่าย ภาพวาด แผนภูมิ หรือแผนสถิติ ซึ่งนำมารวมเข้าเป็นเรื่องราว ให้มีความต่อ เนื่องสัมพันธ์กันตั้งแต่ต้นจนจบ มีประโยชน์อย่างมากในการอธิบายประกอบสารนิเทศ มัก นิยมใช้ประกอบการบรรยายในการประชุม หรือการฝึกอบรมในห้องเรียน (ณรงค์ สมพงษ์ 2530 : 126) ในแต่ละหน้าของภาพชุด จะมีภาพที่สัมพันธ์กัน คำอธิบายด้านหลังของหน้าแรกจะเป็นคำบรรยายของภาพในหน้าที่สอง คำบรรยายสรุปนี้จะช่วยแนะแนว ทางการบรรยายให้กับผู้ใช้ด้วย นับว่าเป็นวัสดุกราฟฟิคที่มีประโยชน์ต่อการเรียนการสอนและการฝึกอบรมในวงการธุรกิจ2.5 ภาพโฆษณา (Posters หรือ Placards) เป็นสื่อสารนิเทศประเภทวัสดุกราฟฟิคที่จัดทำขึ้นเพื่อสื่อสารข้อมูล โดยใช้ภาพ สี และคำ หรือข้อความประกอบเข้าด้วยกัน มีการออกแบบอย่างดีเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้พบเห็นและเพื่อจูงใจให้มีความ เห็นคล้อยตาม (พรรณพิมล กุลบุญ 2523 : 11) ภาพโฆษณาจึงเป็นสื่อที่นำมาใช้ในวงการค้า การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ในหน่วยงานทั้งราชการและเอกชน เป็นสื่อสารนิเทศที่สร้างความประทับใจแก่ผู้พบเห็นได้อย่างมาก
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)